หนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่ออยู่ในช่วงระหว่างการรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าเลยก็คือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลาย ๆ ท่านเป็นกังวลกับผลข้างเคียงดังกล่าวไม่ใช่น้อย เพราะอาจทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจในรูปร่างของตัวเองมากกว่าเดิม หรืออาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วยาซึมเศร้าส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นได้จริงหรือไม่ แล้วเราจะมีวิธีการป้องกัน หรือดูแลไม่ให้อ้วนขึ้นเนื่องจากยาซึมเศร้าอย่างไรได้บ้างนั้น สามารถติดตามได้ในบทความนี้

ยาซึมเศร้าที่มีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้นมีอะไรบ้าง?

แม้ว่ายาซึมเศร้าจะมีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้น หรืออ้วนขึ้น แต่ก็เป็นเพียงกลุ่มยาบางชนิดเท่านั้น เช่น กลุ่มยา TCA (Tricyclic Antidepressants) ที่มีส่วนทำให้อ้วนขึ้นได้แม้ใช้ยาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม และกลุ่มยา SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) ที่ในช่วงแรกผู้ใช้จะเจอผลข้างเคียงน้ำหนักตัวลดลง แต่เมื่อใช้ยาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป มีโอกาสที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

ทำไมยาซึมเศร้าทำให้อ้วนได้?

สาเหตุที่ว่าทำไมยาซึมเศร้าทำให้อ้วนได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยาในกลุ่ม TCA หรือ SSRIs นั้นก็คือตัวยาทำปฏิกิริยากับระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบเผาผลาญของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้มากพอ และมีการกักเก็บไขมันส่วนเกินไว้มากขึ้น จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในที่สุด หรือส่งผลต่อระบบประสาท หรือสารสื่อประสาท โดยเฉพาะสาร Serotonin ที่ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารมากกว่าเดิม เป็นต้น

ทั้งนี้การที่เรามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรืออ้วนขึ้นอาจไม่ใช่เป็นเพราะผลข้างเคียงจากการรับประทานยาซึมเศร้าเท่านั้น อาจมีปัจจัยภายนอก ๆ อื่นอย่างการรู้สึกหมดแรง เหนื่อยล้า ไม่อยากขยับเขยื้อนร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่เกิดการเผาผลาญไขมัน ก็ส่งผลให้ไขมันส่วนเกิดสะสมตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย และน้ำหนักขึ้นได้เช่นกัน

หากอ้วนขึ้นเพราะยาซึมเศร้าทำอย่างไรดี?

เมื่อสำรวจตัวเองแล้วน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของยาซึมเศร้า แนะนำว่าควรมองหาวิธีป้องกันและดูแลไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิมจนส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและความมั่นใจ ดังนี้

1.ศึกษาผลข้างเคียงของยาซึมเศร้าที่ใช้

หากกังวลผลข้างเคียงของการใช้ยาซึมเศร้า แนะนำศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาที่จำเป็นต้องทานให้เรียบร้อยเสียก่อนว่ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ หรือแม้แต่มีส่วนทำให้น้ำหนักตัวขึ้นหรือไม่ เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการรับมือกับผลข้างเคียงหลังใช้ยาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม หรือสอบถามแพทย์ผู้จ่ายยาให้ชัดเจนถึงรายละเอียดดังกล่าวก็ได้เช่นกัน

2.เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การได้พูดคุย และแจ้งปัญหาทางสุขภาพที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นวิธีในการป้องกันและดูแลปัญหาน้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากยาซึมเศร้าที่ดีที่สุด เพราะแพทย์จะคอยช่วยวินิจฉัยถึงสาเหตุดังกล่าว พร้อมแนะนำแนวทางการรักษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ฉะนั้นเมื่อเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าที่อยู่ระหว่างการใช้ยา และสังเกตว่าน้ำหนักตัวขึ้น รู้สึกตัวเองอ้วนขึ้น อย่าพยายามหยุดใช้ยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ก่อน เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ อย่างอาการซึมเศร้ากำเริบ รู้สึกวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย  คลื่นไหส้ ปวดหัว เป็นต้น

3.ควบคุมอาหารการกิน

เพราะหนึ่งในผลข้างเคียงของยาซึมเศร้าเพราะหนึ่งในผลข้างเคียงของยาซึมเศร้าก็คือความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น หากไม่ควบคุมการรับประทานอาหารให้ดี ก็มีส่วนทำให้อ้วนขึ้น หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยแนะนำให้ควบคุมอาหารการกิน ดังนี้

  • จำกัดปริมาณในการรับประทาน หรืออาจทำ IF ควบคู่ไปด้วย 
  • เลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ พร้อมเลี่ยงของหวาน ของทอด ของมัน และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เพิ่มอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงในมื้ออาหาร เพื่อให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น 
  • ห้ามละเลยการรับประทานอาหารเช้าเด็ดขาด 
  • ปรึกษานักโภชนาการ หรือเททรนเนอร์เพื่อวางแผนอาหารการกินร่วมด้วย

4.ขยับร่างกายบ่อยๆ

นอกจากการคุมอาหารเพื่อทำให้น้ำหนักตัวคงที่แล้ว การขยับร่างกายบ่อย ๆ หรือการออกกำลังกายก็ถือเป็นวิธีดูแลน้ำหนักตัวได้ดีเช่นกัน แม้ว่าในผู้ป่วยซึมเศร้ามักจะประสบปัญหาการขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย หรือไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยล้าในการออกกำลังกายก็ตาม ซึ่งขอแนะนำให้ขยับร่างกายบ่อย ๆ ดังนี้

  • หมั่นขยับเขยื้อนร่างกาย เลิกการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น พักสายตาจากการทำงานแล้วลุกเดินเล่นสัก 10-15 นาที
  • ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือเวทเทรนนิ่งเพื่อเร่งการเผาผลาญไขมัน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ 
  • หากีฬา หรือกิจกรรมทำในวันหยุด เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

เพื่อให้สุขภาพร่างกายดีจากภายในสู่ภายนอก และให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น การให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นวิธีป้องกันและดูแลปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่ม ขึ้นได้ดีเลยทีเดียว เนื่องจากขณะที่ร่างกายเราอยู่ในโหมดพักผ่อนจะเกิดการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยทำให้ระบบเผาผลาญร่างกายดีขึ้นออกมา และการนอนหลับยังช่วยควบคุมความอยากอาหารได้อีกด้วย จึงสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นได้นั่นเอง 

และถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่นอนหลับยาก หรือมีปัญหาด้านการนอนหลับ แนะนำทำตามเคล็ดลับเหล่านี้

  • เลือกนอนและตื่นเวลาเดิมในทุก ๆ วัน เพื่อให้ร่างกายจดจำเวลาพักผ่อน
  • เลือกเล่นอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ทั้งโทรศัพท์ ไอแพด แท็บเล็ต โน้ตบุ๊คอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อให้จิตใจสงบมากที่สุด 
  • ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือช่วง 19-20 องศาเซลเซียส
  • ทำห้องให้มืดที่สุด เลี่ยงการเปิดแสงไฟจ้า หรืออาจจะใช้ผ้าม่านกันแสง ผ้าม่านทึบแสงร่วมด้วย

ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมีโอกาสที่จะเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะในกลุ่มยาซึมเศร้าชนิดเก่าอย่างกลุ่ม TCA ที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเผาผลาญร่างกายเสื่อมประสิทธิภาพ และส่งผลให้รู้สึกอยากอาหารมากกว่าเดิม จึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในที่สุด ทั้งนี้สามารถดูแลและป้องกันได้ด้วยการเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการใช้ยา หรือปรับเปลี่ยนยาซึมเศร้าใหม่ ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และการนอนให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

สำหรับใครกำลังอยู่ในระหว่างการทานยาต้านอาการซึมเศร้าอยู่ แล้วมีความกังวลใจในเรื่องของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น คลิกที่นี่ หรือแอดไลน์ @healthyandme https://lin.ee/VQ4Qx18 เพื่อปรึกษาและรับคำแนะนำและปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ และโค้ขจาก Healthy and Me เพื่อช่วยดูแลเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับภาวะโรคซึมเศร้าได้ตลอดเวลา 

อ้างอิง :

https://www.everydayhealth.com/depression/antidepressants-and-weight-gain-why-it-happens-and-ways-to-cope/

Recommended Posts

ไขข้อสงสัย น้ำหนักขึ้นจากยาซึมเศร้าได้หรือไม่

หนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่ออยู่ในช่วงระหว่างการรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าเลยก็คือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลาย ๆ ท่านเป็นกังวลกับผลข้างเคียงดังกล่าวไม่ใช่น้อย เพราะอาจทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจในรูปร่างของตัวเองมากกว่าเดิม […]

โรคเบาหวานกับการทำ IF เป็นเบาหวานทำ IF ได้ไหม? ต้องทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย

โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรังหลายปีมีสาเหตุจากการทำงานผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด […]

รวมวิธีลดน้ำหนัก ผู้หญิง ลดความอ้วนแบบธรรมชาติ ทำง่ายได้ผลลัพธ์แบบยั่งยืน

“การลดน้ำหนัก” กับ “ผู้หญิง” นั้นเปรียบเสมือนของคู่กันเพราะสาวๆ ทุกคนต่างก็ใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของหุ่นเพรียวสวย […]